โปรดร่วมบริจาค เพื่อเราจะได้สามารถช่วยเหลือลูกคุณ และลูกคนอื่นๆ มิให้เป็นโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวน ทำร้ายสตรีและผู้อื่น หรือประพฤติผิดกฏหมายทุกรูปแบบเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น
โดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาลาดพร้าว 71 ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี คุณนภัทร พุกกะณะสุต และ คุณบุณฑรีก์ โมกขะสมิต เลขที่บัญชี 021-8-89778-9
ผลบุญที่เกิดขึ้นจากการช่วยเหลือผู้ป่วย ทำให้ปัญหาความเจ็บป่วยของคุณและบุคคลในครอบครัวดีขึ้นจนหาย
สิ่งที่พ่อแม่พี่น้องต้องทำ
พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีอะไรหรือใครจะมาช่วยเหลือให้ลูกสมาธิสั้นมีอาการดีขึ้นได้ดีที่สุดเท่าคุณแม่ คุณพ่อและพี่น้องร่วมครอบครัว ทุกคนควรจะต้องดำเนินการช่วยเหลือดังต่อไปนี้

-
ปรึกษาหารือโดยเฉพาะคุณพ่อและคุณแม่ต้องช่วยเหลือลูกในทิศทางเดียวกัน
-
ถ้ารู้สึกเครียดมากกับพฤติกรรมของลูกที่บ้านและคุณครูแนะนำอย่างตรงไปตรงมาหรือพูดอ้อมๆ เป็นนัยยะ ต้องรีบนัดพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
-
หากพฤติกรรมของเด็กสร้างปัญหาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน คุณหมอจะให้รับประทานยา ถ้าภายในสองสัปดาห์ลูกไม่ดีขึ้น ต้องปรึกษาคุณหมอ ถ้ามีการเพิ่มยาแต่อาการไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดี จำเป็นต้องเปลี่ยนแพทย์เพราะการวินิจฉัยอาจผิดพลาด ลูกมิได้เป็นสมาธิสั้นตามที่คุณแม่ให้ข้อมูลกับคุณหมอว่า ลูกซุกซนอยู่ไม่นิ่ง เด็กสมาธิสั้นเมื่อรับประทานยา อาการจะดีขึ้น เชื่อฟังมากขึ้น สามารถรับผิดชอบงานที่บ้านและที่โรงเรียนได้มากขึ้น ผลการเรียนเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จะกลายเป็นเด็กเรียนดี ในขณะที่เด็กเปลี่ยนแปลงคุณแม่ต้องแก้ไขพฤติกรรมตนเองตามหลัก ทาน ศีล ภาวนาและปรับพฤติกรรมลูกอย่างถูกต้องโดยใช้ "ตารางกิจวัตรประจำวัน" และ "ตารางกิจวัตรประจำวันหยุด" โดยไม่ตี หรือ ดุ ด่า ว่า กล่าว ลูก อ่าน "บทบาทของจิตแพทย์" และ "ปัจจัยที่ทำให้ดีขึ้น"
-
กระตุ้นการทำงานของสมองลูกด้วยการทำ "กิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ"ในโรงพยาบาลที่พบแพทย์และต้องทำที่บ้านอย่างน้อยวันเว้นวัน อ่าน "การฝึกกิจกรรมบำบัด" หรือ ให้ลูก "เล่นแบบไทย" อ่าน "การเล่นแบบไทยกระตุ้นสมองเด็ก" อย่างสม่ำเสมอจนกว่าแพทย์จะเลิกให้รับประทานยาและแจ้งว่าลูกหายแล้ว
-
บำรุงสมองลูกด้วยอาหารที่ถูกต้องตามธรรมชาติ เป็นต้นว่า ปลาทู ไข่ไก่(ต้องไม่มีปัญหาหัวใจ) น้ำ้เต้าหู้ ไม่ใส่น้ำตาล (ไม่ดื่มน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มหรืออาหารที่ใส่น้ำตาลมากเพราะนำ้ตาลได้จากแ้งและข้าวเป็นประจำ) ผลไม้ที่ไม่หวาน ผักพื้นบ้าน เช่น ถั่วพลู ดอกแค ดอกโสนและดอกขจร ฯลฯ
-
ให้ความรักต่อเด็กโดยปราศจากเงื่อนไข จนเด็กสัมผัสได้ว่า ตนเป็นที่รักของทุกคน เกิด ความสุขและรู้สึกอบอุ่น มีความภาคภูมิใจในตนเอง
-
ให้ความเมตตา ปฏิบัติต่อเด็กด้วยความใจเย็นตาม หลักธรรมะ (ทาน ศีล ภาวนา) ทุกวัน หากนับถือพุทธ ทั้งนี้เพราะเป็นข้อปฏิบัติประจำวันของชาวพุทธ หากนับถือศาสนาอื่นก็ต้องเป็นคำสอนของพระศาสดา
- มีความอดทนและตั้งใจ "ช่วยเหลือเด็ก ไม่ใช่แก้ไขเด็ก" ควรจำไว้ว่า ยิ่งแก้ยิ่งแย่ เพราะเด็กมิได้แกล้งทำ มันเป็นธรรมชาติที่สมองสั่งการเช่นนั้น
- ประคับประคอง ช่วยเหลือและไม่กดดัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ก็ตาม เพราะเด็กเกิดมาอาภัพอยู่แล้ว ต้องล้างความอาภัพให้หมดไป ด้วยการให้ คำชม เท่าที่จะทำได้ ไม่ตอกย้ำซ้ำเติมจนคำวาสมาธิสั้นไปฝังอยู่ใน "จิตใต้สำนึก" ของลูก จนแย่และแย่ๆๆๆๆๆ "จิตใต้สำนึก" ของพ่อแม่ต้องดีเช่นกัน "จิตสำนึก" จึงจะดีและคิดแต่ด้านบวก ทำแต่ด้านบวกและพูดแต่ด้านบวกทุกเรื่อง จิตสำนึกของลูกจึงจะดีตลอดชีวิตเช่นกัน

- ปรับพฤติกรรมเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง ต้องรีบทำตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กหรือเมื่อแรกพบอาการ เช่น การกำหนดเวลาให้เด็กทำการบ้าน เมื่อถึงเวลาต้องจูงมือเด็กมาทำการบ้าน ถ้าเด็กต้องการดูทีวีให้จบรายการก่อน ต้องไม่ยอมและปิดทีวี แม้เด็กจะร้องไห้โวยวาย ต้องเงียบเฉย เมื่อหยุดร้องไห้ ให้จูงมือไปทำการบ้าน ห้ามตะโกน ใช้เสียงต่อล้อต่อเถียงกับเด็ก การปรับพฤติกรรมเช่นนี้ ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต้องยีดยุ่น เมื่อเห็นว่าเด็กเจ็บป่วยหรือมีอาการเครียดเมื่อกลับมาจากโรงเรียน
- หาความช่วยเหลือให้ตัวเองคลายความทุกข์และความเครียด รวมทั้งอาการวิตกกังวล โดย ปรึกษาผู้รู้ ที่มากประสบการณ์ พบนักจิตวิทยา และเข้าเป็นสมาชิกของชมรมฯและหมั่นเข้า ร่วมกิจกรรม ของชมรมผู้ปกครองฯ เป็นประจำ สมาชิกจะได้รับแจ้งจากจดหมายข่าว เพื่อนแม่ เป็นประจำ
การไม่ร่วมกิจกรรมโดยบอกตนเองว่า "ไม่มีเวลา ไม่ว่าง ไกล ฯลฯ " เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำเพราะเด็กจะถูกกดดัน ให้มุ่งมั่นซ้ำซากอยู่กับการเรียนพิเศษ ในรูปแบบต่างๆ จนเด็กอ่อนล้าทางกายและทางใจ จำไว้เสมอว่า "เด็กสมาธิสั้นก็เก่งได้" โดยไม่ต้องหายใจเข้าออกเป็น "เรียนพิเศษ"

สัญญาณบอกปัญหารุนแรง
- เด็กเริ่มพูดว่า "เกิดมาทำไม ทำอะไรก็ผิดหมด อยากตาย"
- คุณแม่เริ่มเบื่อหน่ายทุกอย่าง อยากอยู่คนเดียว หงุดหงิดโมโหง่าย
ต้องหาความช่วยเหลือด่วนที่สุด
- พบจิตแพทย์ทั้งแม่และลูก
- พบผู้มีประสบการณ์
- นักจิตวิทยา
ติดต่อนัดหมายขอความช่วยเหลือจากชมรมฯ ในฐานะผู้มีประสบการณ์โทร 02-932-8439 หรือ Line ID:thaiadhd
|