คำสัมภาษณ์ เรื่อง เด็กสมาธิสั้น ณ. วิทยุกรมประชาสัมพันธ์ AM 89.1
โดย ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย

คุณนภัทร พุกกะณะสุต
เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ : คุณจรัญ ภาคเพียร
สิทธิมนุษย์ชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล ที่ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
คุณจรัญ - สวัสดีครับท่านผู้ฟัง วันนี้ผม จรัญ ภาคเพียร มาพูดคุยเรื่อง เด็กสมาธิสั้นครับ โดยที่มี คุณนภัทร พุกกะณะสุต เป็นประธานชมรมบุคคลสมาธิสั้นครับ สวัสดีครับคุณนภัทร
คุณนภัทร - สวัสดีค่ะ คุณจรัญ - เคยได้ยินเรื่องราวเด็กสมาธิสั้นต่าง ๆ แต่ทราบว่า การก่อเหตุร้ายร้ายทั้งต่างประเทศ และในไทยด้วย มาจากเด็กสมาธิสั้นเหมือนกัน พอจะบอกท่านผู้ฟังอย่างไรครับ คุณนภัทร - คือ เด็กสมาธิสั้น ปกติแล้วพออยู่ในวัยเรียนจะดูปกติมาก แต่ว่าเขาจะมีอาการซน ไม่ค่อยเชื่อฟัง ไม่ทำตามระเบียบวินัย มีอาการขี้โมโหซ่อนอยู่ในตัว เพราะฉะนั้นถ้าในวัยเด็ก คุณแม่คุณพ่อ ครูไปประณามเขา ติเตียนมาก ๆ เขาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นก้าวร้าวขึ้นเรื่อย ๆ แล้วยังไม่มีการแก้ไขหรือเข้าใจเขาโดยพูดให้กำลังใจหรือพูดชมเขา ในที่สุดเขาก็จะเรียนหนังสือไม่ค่อยได้ บางคนก็จะเป็นโรคซึมเศร้าไป หรือถ้าไม่เป็นโรคซึมเศร้า ก็จะเรียนหนังสือไม่จบ ก็จะออกไปเกเรเลย จะไปติดยาเสพติดก็ได้ ไปประพฤติผิดกฎหมายก็ได้ อันนี้เรื่องจริง เท่าที่ทราบประมาณ 50% ที่อยู่ตามท้องถนน ข่าวทีวีก็ออก เมื่อไม่มีวันนี้ในอเมริกา มีผู้ชายอายุ 32 เข้าไปยิงเด็กในโรงเรียน ถามว่า อยากยิงคน ยิงที่ไหนก็ได้ แต่ทำไมต้องยิงที่โรงเรียน แล้วเกิดเหตุการณ์ติดติดใน 2 สัปดาห์ 3 โรงเรียน ปรากฏว่า แต่ละคนมีความทุกข์ในสมัยเรียนหนังสือทั้งสิ้น
คุณจรัญ - อ๋อ.... มีประวัติอยู่
คุณนภัทร - พอเราสอบเข้าไปลึก ๆ จะทราบทันทีเลยว่าเป็นเด็กเหล่านี้
คุณจรัญ - เรียนถามเรื่อง ชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้น มีมากน้อยแค่ไหน แล้วผู้ปกครองส่วนใหญ่พูดคุยกันเรื่องอะไรครับ เมื่อเจอกัน
คุณนภัทร - ชมรมของเราก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2542 โดยสโมสรสุขภาพของคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนาฯ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ กับเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9ร่วมกันก่อตั้งร่วม 8 ปี สมาชิกจริง ๆ มีเยอะ แต่ที่จะเข้ามาร่วมมาก ๆประมาณ 200 300 คน ส่วนใหญ่ที่จะโทรเข้ามามักจะเป็นหนักในลักษณะว่าหงุดหงิด แล้วก็เครียดมาก ไม่รู้จะทำยังไงกับลูกดี แล้วทำไงลูกจะเรียนหนังสือได้ เพราะอย่างนั้นจุดที่เราฟังอยู่ตลอดว่า คุณแม่มักจะเอาการเรียนนำจนกระทั่งเด็กเครียดจัดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจะพยายามบอก คุณพ่อคุณ แม่กลับไปว่า ให้คิดถึงความสุขเป็นตัวนำ การเรียนจะตามมา แล้วก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่หัดใช้ธรรมะเป็นรายวัน อย่าโมโห ว่าคนนะมันมีหลายแบบ ธรรมชาติสร้างมาเราจะไปเปลี่ยนเขาให้เป็นเรา คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่จุดก็คือ ต้องอยู่ร่วมกัน
คุณจรัญ - อันนี้ คือ สิ่งสำคัญ
คุณนภัทร - แล้วสำคัญที่สุดก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องประคับประคองซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่คุณพ่อจะไม่ยอมรับเลยว่าลูกมีปัญหาสมาธิสั้น เพราะเด็กดูปกติมาก มากจริง ๆ
คุณจรัญ - แสดงว่าคุณพ่ออย่างนั้นเป็นสมาธิสั้น
คุณนภัทร - เพราะอย่างนั้น คุณพ่อไม่รับ เด็กจะอยู่ในวงจรของความทุกข์มาก ๆ ที่เจอสภาพอย่างนี้ คุณแม่ก็จะเป็นโรคซึมเศร้า เด็กก็ไม่ทันโต ก็จะเป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกัน
คุณจรัญ - น่าเสียดายที่ป่วยกันเลย หลายคนแล้วทีนี้
คุณนภัทร - แต่ความจริงก็แค่ดีดนิ้วเป๊าะเดียวก็แก้ได้แล้ว เด็กก็จะดีขึ้น แก้ได้ไม่ยาก
คุณจรัญ - ทราบว่าเวลาเด็กสมาธิสั้นจะไม่สามารถทำงานที่พ่อแม่ ครูสั่งได้ จริงมั้ยครับ?
คุณนภัทร - จะทำได้เหมือนกัน จะทำเหมือนกับคนที่ทำอะไรชุ่ยชุ่ย แต่ถ้ามีคนเตือน คอยกระตุ้นอยู่เรื่อย เขาก็จะทำได้ อย่างเช่น ถ้าจะทำการบ้าน ถ้าผู้ที่ร่วมทำการบ้านกับเด็กเข้าใจ อย่างเช่น เด็กเขียนออกมาลายมือไม่สวย ก็อย่าไปมองว่า โอ้โหทำไมลายมือไม่สวย แต่เราต้องชมเขาว่า เขียนได้ตั้งเยอะ มานั่งเขียนใหม่ แล้วให้เวลาเขามากขึ้น เวลาสอบเหมือนกัน ไม่ค่อยอ่านข้อสอบ ชุ่ยขีด
คุณจรัญ - ฟังที่คุณนภัทรพูด ทำให้ผมรู้สึกว่า บางทีคุณครู หรือพ่อแม่ไม่รู้ว่าเด็กเป็นสมาธิสั้น ก็เลยแก้ปัญหาไม่ถูกทาง คุณนภัทร - คือ ไม่รู้นั่นก็ส่วนหนึ่ง พูดกับคุณแม่มากไปเสียแหบเลย กระแอม ไม่รู้ก็ส่วนหนึ่งไม่เชื่อก็ส่วนหนึ่ง แต่ที่ผิดสังเกตเพราะได้ยินว่า สมาธิสั้นต้องซุกซน ก็จะพอไปหา คุณหมอ ให้คุณหมอวินิจฉัยว่าใช่หรือไม่ใช่ เมื่อทราบว่าใช่ก็ยังทำใจไม่ค่อยได้ เพราะลูกดูไม่เห็นมีลักษณะอะไรที่มันไม่ดีเลย คือ ดื้อมาก ซนมาก แล้วคุณแม่ เหนื่อย คุณครูก็เหมือนกัน เด็กสมาธิสั้นถ้าอยู่ในชั้นเรียน จะชอบแหย่เพื่อน ขณะที่เพื่อนฟังครู เด็กก็จะแหย่เพื่อนไม่ฟัง นั่งใต้โต๊ะบ้าง เพราะอย่างนั้น พฤติกรรมทางด้านสังคม มันก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
คุณจรัญ - คุณครูก็ต้องเหนื่อยกว่าปกติ
คุณนภัทร - แต่ถ้าพูดกับเขาดีดี เขาก็จะพยายามแก้ไขตัวเขาเอง แต่อย่าไปตำหนิติเตียน หรือว่าเขาแรง ๆ จะมีปฏิกิริยาโต้กลับทันที เพราะโดยธรรมชาติ มีความขี้โมโหอยู่แล้ว
คุณจรัญ - จริงมั้ยที่บอกว่าเด็กสมาธิสั้นจะไม่ตั้งใจฟังตามที่เราพูดด้วย
คุณนภัทร - ใช่ค่ะ...........เขาจะไม่ฟังเลยที่เราพูด แต่เขาจะรู้ว่าเราพูดว่าอย่างไร เขามีความฉลาด เหมือนเรา เพียงแต่ว่า ฉลาดแปลกแปลก ตรงที่ว่า เลือกฉลาดเฉพาะเรื่องที่ฉันชอบ
คุณจรัญ - ถ้าฉันไม่ชอบ ฉันก็ไม่สนใจ
คุณนภัทร - ใช่ค่ะ...........อันนี้นี่แหละ ที่ทำให้คุณแม่ คุณครู หรือคนรอบตัวรู้สึกหงุดหงิด แล้วมักจะทำร้ายจิตใจของเขา ด้วยคำพูด ก็เลยมีผลเสีย เพราะฉะนั้นชมรมเราก็พยายาม อย่างยิ่งเลยที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูเข้าใจจุดนี้ แล้วก็มอบให้เห็นว่า อันนี้มันเป็นธรรมชาติ สู้เราประคับประคองให้เด็กมีอายุมากขึ้น เขาก็จะค่อยคลายตัวไปเอง
คุณจรัญ - แล้วจริงหรือไม่ว่า เด็กสมาธิสั้นมักจะลืมบ่อย?
คุณนภัทร - จริงค่ะ........มักขี้ลืมมาก อย่างลูกชายดิฉันต้องถือว่าเป็นมาก ถ้าใครได้ไปอ่านหนังสือเรื่อง พรุ่งนี้ยังไม่สายไป อย่างเช่น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราจะทำข้าวผัดหมูแฮม เราก็หาหมูแฮมไม่เจอ เขาเอาไปเก็บที่ไหนไม่รู้ เขาก็บอกว่า เขาเก็บแต่เก็บที่ไหนไม่รู้ ปรากฏว่าไปวางอยู่บนเขียง เราหาในตู้เย็นไม่เจอ แต่ก่อนเราไม่เข้าใจ เราก็ว่า เขาโกหก เขาก็เสียใจ เขาก็ตั้งใจดี
คุณจรัญ - เป็นมาอย่างไรถึงได้ไปเขียนหนังสือครับ
คุณนภัทร - คือ ดิฉันทำเรื่องเด็กสมาธิสั้นมา 8 9 ปี เห็นว่าเป็นเรื่องลำบากมาก โดยเฉพาะด้านโรงเรียนเข้าใจจัดระบบการศึกษาให้เด็ก ๆ เหล่านี้ ได้มีโอกาสเรียน อย่างเช่น ให้มีการคัดแยกว่าเด็กเหล่านี้ที่เป็นโรคนี้ อาจจะมีการสอนเสริม ขยายเวลาสอบ ให้การบ้านน้อยลง เด็กเหล่านี้ก็จะเรียนได้ อย่างที่ทำมา 8 ปี มันเข้าใจว่าทางภาครัฐคงมี ภาระเยอะเหมือนกัน ดิฉันก็มาเน้นประชาสัมพันธ์ไปจนกว่าจะได้รับความเห็นใจ และความช่วยเหลือ ก็เลยลงมือเขียนหนังสือเรื่อง พรุ่งนี้ยังไม่สายไป เป็นเหมือน นิยายชีวิตจริง ๆ นะค่ะ
คุณจรัญ - ก็เพราะข้อมูลก็ได้เต็มที่
คุณนภัทร - ได้เต็มที่ แล้วเล่ม 2 ก็เป็นเรื่อง แสนเสียดาย ด. เด็ก ซึ่งจะให้เห็นว่า ถ้าไม่ช่วยเด็กเหล่านี้ เป็นอย่างนี้ ไม่ได้เขียนเป็นวิชาการ เขียนเป็นเรื่องอ่านสนุกสนุก แต่จริง ทั้งนั้น
คุณจรัญ - เพื่อจะได้แก้ปัญหากันได้
คุณนภัทร - ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์
คุณจรัญ - เท่าที่ผมฟังมามีนโยบายทางการศึกษาของรัฐ คือ พยายามจะจัดให้เด็กพิเศษเหล่านี้ แต่ในภาคปฏิบัติก็ไม่รู้ว่าไปถึงไหนกัน คุณนภัทร - ทางกระทรวงศึกษาเปิดโรงเรียนร่วม เท่าที่ทราบก็ประมาณ 2,000 แห่ง แต่ถ้าคุณแม่ จูงเด็กหนึ่งคนเข้าไปขอเข้าในโรงเรียน แล้วบอกว่าลูกเป็นสมาธิสั้น จะเข้าไม่ได้หรอกค่ะ จะต้องแฝงเข้าไป คือ ไม่บอก เมื่อไม่บอก เข้าไปก็ไปค้นพบกันเอาเอง
คุณจรัญ - คือ....ถ้าเป็นอย่างนั้น ผมเข้าใจว่า ถ้าไม่ได้เตรียมคุณครูก่อนก็ย่อมจะมีปัญหากับเด็ก
คุณนภัทร - ค่ะ....ตอนนี้เข้าใจว่าทางกระทรวง มีปัญหาทางด้านงบประมาณ เพราะถ้าทำนะค่ะ ก็ต้องเรียนตรงๆ เลยว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ แต่ถึงเรื่องใหญ่ก็ต้องทำ เพราะเด็กที่ตีกัน ทางการแพทย์บอกเลย ครึ่งนึงนะเป็นพวกเด็กสมาธิสั้น แล้วตามเกณฑ์ของสหรัฐ ถ้า ประชาชนไทยมี 64 ล้านคน จะมีเด็กสมาธิสั้น 1.4 ล้านกว่าคน เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องใหญ่ มันจำเป็นต้องทำ สมมุติว่าปีนี้เราทำตรงนี้ ปีหน้าเราทำอีกที พออีก 10 ปี มันก็ครบถ้วน แต่ถ้าเรายังไม่เริ่มให้ชัดเจน เด็กเหล่านี้ก็จะหลุดจากระบบการศึกษา นอกจากคนที่เป็นนิดเดียวจริง ๆ ถึงจะอยู่ได้
คุณจรัญ - เท่าที่คุณนภัทรค้นพบ เด็กเป็นสมาธิสั้นแล้ว คุณพ่อไม่รู้ คุณแม่ไม่รู้ คุณครูไม่รู้ เขามีผลกระทบอะไรบ้าง คุณนภัทร- พอไม่รู้ แม่ก็จะตี เพราะจะเหนื่อยผิดปกติ แล้วก็เครียด ในบ้านก็จะเครียด พ่อก็จะไม่เห็นด้วย เพราะนาน ๆ คุณพ่อจะดูลูกที แล้วส่วนใหญ่เท่าที่โทรเข้ามามักมีปัญหา ครอบครัวแตกแยก เพราะคุณพ่อรับไม่ได้ อันนี้เป็นเรื่องของทางบ้าน เรื่องของทางโรงเรียน สมมุติว่า เด็กเข้าไปโดยทางคุณครูไม่รู้ รึว่าคุณครูรู้ ขณะนี้คุณครู แต่ละโรงเรียนคุมเด็กตั้ง 40 50 คน ก็เห็นใจคุณครู
คุณจรัญ - การเพิ่มเด็กพลังพิเศษอีก
คุณนภัทร - ก็ต้องบอกว่า คุณครูตายอย่างเขียดหล่ะ ก็โทษคุณครูไม่ได้ มันเป็นเรื่องที่ภาครัฐจะต้องตระหนัก เพราะปัญหาอันนี้เราหมุนซ้ายหมุนขวาเดี๋ยวก็เจอค่ะ..... อาจจะ ลูกหลานเรา ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน เพราะอย่างนั้น ต้องทำเป็นระบบ แต่เชื่อว่ามันคงขาดงบประมาณแล้ว เท่าที่ดิฉันทราบจะมีกองทุนเพื่อสนับสนุนให้ครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคเหล่านี้ กองทุนอันนี้ดิฉันเข้าไปร่วมประชุมอยู่ด้วย กว่าจะลงมือปฏิบัติสนับสนุนจริง เด็กจะหลุดจากระบบการศึกษาไป อันของเก่า ๆ ก็ยังไม่ไป ของใหม่ก็เข้ามาเพิ่ม เพียงแต่ว่าถ้าเราเอาธรรมะมาใช้ในระหว่างที่คอยแก้ปัญหานี้ เด็กเหล่านี้จะไปได้
คุณจรัญ - สมมุติว่า ครอบครัวหนึ่งมีลูกน้อย แล้วเมื่อเขาโตขึ้น พ่อแม่ได้รู้ว่าลูกเป็นสมาธิสั้น เพราะอย่างนั้นคุณพ่อ คนที่ไม่เคยเข้าใจ คุณพ่อคุณแม่คู่นี้ ควรจะทำอย่างไรครับ คุณนภัทร - ส่วนใหญ่ยังไม่ทันทำอะไรหรอกค่ะ คุณพ่อจะทิ้งคุณแม่ก่อน เท่าที่ทราบจะหย่าไปบ้าง จะแยกไปเฉย ๆ เลย
คุณจรัญ - ถ้าเป็นคุณพ่อที่ดี
คุณนภัทร - ถ้าเป็นคุณพ่อที่ดี ก็จะมาช่วยกันมาหาความรู้ แล้วก็จะพยายามแบ่งเบาภาระคุณแม่ก็มี แต่ก็น้อยมากค่ะ แล้วคุณแม่จำนวนไม่น้อยก็จะเป็นโรคซึมเศร้า สังเกตมั้ยค่ะว่าที่กรม สุขภาพจิตออกมาบอกเรื่องโรคซึมเศร้า ก็จะมีคุณแม่พวกเรารวมอยู่เยอะ แล้วก็ซึมเศร้าเพราะสามีไม่เห็นใจ แล้วตัวเด็กเอง ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือ เขาก็จะอยู่ในห้องแห่งความทุกข์
คุณจรัญ - ฟังดูแล้ว มันก็เศร้าซึมจริง ๆ
คุณนภัทร - ใช่ค่ะ.... ฟังแล้วเศร้าซึมจริง ๆ ดิฉันรอดพ้นมาได้ ถ้าไปอ่านหนังสือที่ดิฉันเขียน ลูก ดิฉันน่าจะเป็นซึมเศร้า แต่ดิฉันปรับตัวขึ้นมา พอใจแล้วก็เอาความสุขนำ การเรียน เรื่องเล็กเลย ในที่สุดลูกก็เรียนจนจบ ก็คุณแม่ต้องไปจดการบ้านให้
คุณจรัญ - ตอนนี้ลูกชายอายุเท่าไหร่แล้วครับ
คุณนภัทร - ก็ 20 กว่า แล้วค่ะ
คุณจรัญ - เป็นหนุ่ม
คุณนภัทร - ตอนนี้เป็นผู้ช่วยครู ดูแลเด็กที่มีปัญหา ออทิสติก
คุณจรัญ - ก็น่าจะสื่อสาร ช่วยเหลือกันได้ดี อันนี้ต้องชมคุณครู อาจารย์ที่สอนลูกชายอยู่
คุณนภัทร - เขาก็ช่วยดูแลเด็กออทิสติก ได้เงินเดือนก็จะเอามาให้แม่ แต่มีอยู่ครั้งนึง เขากลับมาเครียดมาก เขาบอกว่า เขาขอลาออก เขาบอกว่า ทนไม่ไหว เด็กพูดไม่รู้เรื่อง เราก็เลย หัวเราะ เราก็เลยถามว่า ลูกน่าจะเห็นใจเด็ก ๆ เหล่านั้นนะ ถ้าเราแปลงทุกอย่างเป็น เสียงหัวเราะ เด็กก็จะดีขึ้น
คุณจรัญ - ทราบว่าทางชมรมผู้ปกครอง บุคคลสมาธิสั้นจะมีงานเร็ว ๆ นี้ มีงานอะไรครับ
คุณนภัทร - ใช่ค่ะ เนื่องจากเท่าที่คุยกับคุณพ่อคุณแม่ เอาคุณแม่ดีกว่า คุณพ่อไม่ค่อยได้คุย มา 8 ปี ส่วนใหญ่คุณแม่จะไม่เชื่อมั่นในเรื่องยา ไม่ยอมรับเรื่องยา วันที่ 29 ตุลาคม เราจะมีการสัมมนาเรื่อง การเพิ่มศักยภาพลูกสมาธิสั้น....ไม่ใช้ยาได้หรือไม่ ที่โรงพยาบาล กรุงเทพ สำรองที่นั่ง เบอร์โทร: 02-932-8439 เวลา 8.20 12.30 น.
คุณจรัญ - ผมว่า พ่อแม่ท่านใดที่คิดว่าลูกใช่หรือไม่ น่าจะไปงานนี้ เราคุยกันเยอะ แต่เวลาเรามีน้อย พอจะสรุปให้กับผู้ฟังทางบ้านหน่อยครับ คุณนภัทร - ค่ะ......อยากพูดว่าเด็กสมาธิสั้น โอกาสที่จะดีขึ้นจนหาย มีโอกาสสูงมาก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ร่วมมือกันฝึกฝนตนเอง ให้ช่วยเหลือลูก ให้กำลังใจ ไม่โกรธลูก คุณครูและเพื่อน ก็เหมือนกัน เด็กจะตั้งใจทำ เพราะรักทั้งพ่อแม่ค่ะ
คุณจรัญ - หมดเวลาแล้วครับ สวัสดีครับ
คุณนภัทร - สวัสดีค่ะ คุณจรัญ ภาคเพียร |