หน้าแรก  :  เกี่ยวกับเรา  :  สมัครสมาชิก  :  ติดต่อเรา  :  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
บทความที่ควรอ่าน: อาการแทรกซ้อน
อาการแทรกซ้อน
Views: 25218

 

อาการแทรกซ้อนในสมาธิสั้น

อาการต่อไปนี้  อาจพบแทรกซ้อนอยู่ในตัวเด็กสมาธิสั้นซึ่งจะมีผลทำให้ปัญหาสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

    1. อาการกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง (แขน-ขา หรือ นิ้วมือ)

    2. อาการประสาทไม่สัมพันธ์

    3. การขาดทักษะทางสังคม ไม่รู้กาละเทศะและไม่สามารถควบคุมตนเองในสถานการณ์คับขัน 

    4. อาการแพ้ยา หรืออาการข้างเคียงของยาบางประเภท เช่น  ยากันชักบางประเภท  ยาแก้หอบหืด  ยาภูมิแพ้  ยาลดน้ำมูก  ยาลดความก้าวร้าว ฯลฯ

    5. อาการของโรคภูมิแพ้ บางคนอาจเป็นถึงขั้นหอบหืดและอาจแพ้ยาหลายประเภท  เกิดอาการก้าวร้าวรุนแรง  ประสาทหลอนโดยพ่อแม่หรือแม้แต่หมอก็ไม่รู้  คงเพิ่มปริมาณยาโดยเฉพาะยาระงับอาการก้าวร้าวและยานอนหลับที่เกินขนาด  จนเด็กบางคนต้องเสียชีวิตเพราะได้รับ ยาเกินขนาด  แต่หมอมักจะพูดว่าเด็กหัวใจวายเอง  มีการนำคนไข้ที่เสียชีวิตออกจากโรงพยาบาล........และโรงพยาบาล.......แทบจะทุกวัน  เนื่องจากเกิดภาวะหัวใจวายเพราะยาเกินขนาด  พ่อแม่ต้องเฝ้าระวังและติดตามการให้ยาอย่างใกล้ชิด

 

         6.  ปัญหาภายในครอบครัว หรือสภาพแวดล้อมของเด็กที่ปราศจาก   ความสุข  จะทำให้เด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์และดูเหมือนมีสมาธิสั้น 
-  สภาพวุ่นวายขาดระเบียบ
-  ความบกพร่องในการเลี้ยงดู
-  ภาวะตึงเครียดของพ่อแม่และพี่น้อง
-  ปัญหาความรุนแรงและก้าวร้าวในครอบครัว
ปัญหาครอบครัวแตกแยก
-  ปัญหาลูกคนเดียวหรือการตามใจจนเคยตัว

           สำหรับข้อนี้  เมื่อเด็กผ่านกระบวนการช่วยเหลือที่ถูกต้องจากครอบตร้ว โดยการเปลียนสภาพแวดล้อมใหม่และแก้ไขเรื่องความวุ่นวาย  ก้าวร้าว  รุนแรง ให้เกิดความสงบสุขกับทุกคนในครอบครัว  อาการของเด็กจะหายไปในที่สุด  ในกรณีเช่นนี้เรียกว่า  เด็กมี "สมาธิสั้นเทียม"

        7. การที่พ่อแม่ปล่อยให้ "เด็กติดเกม" โดยไม่กำหนดเวลาเล่นให้เหมาะสม  จะทำให้เด็กที่มีสมาธิสั้นอยู่แล้ว  ยิ่งมีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือเด็กธรรมดาที่ติดเกม อาจทำให้เกิดอาการสมาธิสั้นเทียมขึ้นได้  ขอให้เข้าไปดูในหัวข้อ "ลูกรักติดเกม" และ download วิธิช่วยเหลือและป้องกันลูกติดเกม
ควรดูเว็บไซท์ www.Healthygamer.net เพิ่มเติมด้วย
          

         8. อาการบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities Disorder หรือแอลดี) เด็กจะมีปัญหาดังต่อไปนี้  แต่ดูปกติและฉลาดเหมือนเด็กสมาธิสั้น  อาการแอลดีไม่หาย  แต่ดีขึ้น  ภาครัฐจัดให้เป็น "ผู้พิการ" ซึ่งสร้างความเสียหายและกระทบกระเทือนใจเด็กและพ่อแม่อย่างรุนแรงเหลือเกิน  

           - ด้านการอ่านเขียน เด็กอาจจะอ่านหนังสือไม่ค่อยออก  สะกดคำไม่ค่อยได้ อ่านแบบเติมคำตามใจชอบหรืออ่านตกหล่น และ เขียนหนังสือผิด ๆ ถูก ๆ สะกดคำไม่ได้ วรรคตอนไม่มี  ขาดสระและวรรณยุกต์ หรือ  เขียนตามเสียง  เช่น โจร  จะเขียนว่า "โจน" เด็กมักเขียนจากความจำ  การสะกดคำเป็นเรื่องยาก  เป็นต้น  ผู้อื่นไม่สามารถอ่านหรือเข้าใจสิ่งที่เด็กเขียนได้

          - ด้านคณิตศาสตร์  คณิตศาสตร์เป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก  การทด  การขอยืมหรือการคิดในใจ  ต้องสอนแล้วสอนอีก  ตีโจทย์ไม่แตก  ถ้ามีปัญหาการอ่าน  จะทำให้อ่านโจทย์เลขไม่ได้  แต่ถ้าสอนด้วยของจริงจะทำได้  หรือ  เด็กบางคนจะทอนเงินไม่ได้

          - ด้านการคิดรวบยอด เด็กขาดเหตุและผล  จะเล่าเรื่องไม่ค่อยได้   ชอบพูดว่า "ไม่รู้" หรือเมื่อฟังผู้อื่นพูดยาว ๆ หรือ เรื่องยาก ๆ ไม่เข้าใจ  จับประเด็นไม่ได้  หรือ  อ่านหนังสือไม่ค่อยเข้าใจ  จับประเด็นไม่ได้  เขียนก็เช่นกัน  อาจเขียนไม่ตรงคำถามหรือเขียนแล้วผู้อ่านจับประเด็นใจความไม่ได้  การพูดก็เช่นกัน จะพูดวกวนสับสน  ผู้ฟังต้องพยามยามฟัง  ฟังแล้วมักจะไม่ค่อยเข้าใจว่าต้องการพูดเรื่องอะไรและเนิ้อหาสาระคืออะไร  เข้าใจยาก  หรือ  เด็กมักตอบคำถามค่อนข้างช้า  มักหลีกเลี่ยงการตอบคำถามหรือการพูดยาวๆ  ปัญหาด้านนี้จะมีผลต่อคณิตศาสตร์และการเรียนในระดับสูงขึ้นไป 

          - ด้านทั่วไป  เด็กดูนาฬิกาไม่ค่อยได้ ไม่สามารถบอกนาทีได้  ไม่รู้ซ้ายขวาหรือทิศทาง ไม่สามารถบอกความลึก  ความตื้น  ความสูง  ความต่ำ  ความหนา  ความบางหรือปริมาตรได้ ใส่รองเท้ากลับข้างจนโต  หรือ  ติดกระดุมเขย่งผิดรูกระดุม  อาการข้อนี้ไม่สำคัญและเป็นอุปสรรคมากเท่าอาการข้างต้น

           เด็กที่มีปัญหาแอลดี  มักเหม่อลอยในชั้นเรียน  เก็บความรู้สึกจนกลายเป็นเก็บกด  ยอมให้คนเอาเปรียบ โต้เถียงแสดงเหตุผลไม่ทันเพื่อน  จึงมักถูกล้อเลียนว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อนหรือ "เด็กเอ๋อ" ทั้งๆที่ไอคิวปกติหรือสูงมากก็เป็นได้

           เด็กแอลดี  มักมีอาการซึมเศร้าได้ง่ายเพราะเก็บกดความรู้สึกตัวเอง  ส่วนเด็กสมาธิสั้นจะไม่เก็บมักแสดงออกทันทีโดยไม่เกรงกลัวใคร

          เด็กแอลดี  ที่มีอาการน้อย  มักมีไอคิวสูงและมีความเป็นอัจฉริยะเฉพาะเรื่อง เช่น  การวาดรูปหรือมักชอบงานศิลปะ

          เด็กแอลดี  ยิ่งโตจะยิ่งเห็นปัญหาทางการเรียนเพราะไม่เข้าใจสิ่งที่ครูสอน  ไม่เข้าใจสิ่งที่ตนอ่านและไม่สามารถเขียนงานที่สื่อความหมายได้ถูกต้องหรือไม่ตรงตามหัวข้อที่ต้องเขียน

          เด็กแอลดี  ยิ่งเรียนผลการเรียนยิ่งไม่ดี  พ่อแม่ต้องเข้าใจวิธีสอน

          เด็กแอลดีมักมีสมาธิสััน  แต่เมื่อสามารถอ่านเขียนและมีความคิดรวบยอดดีขึ้น  อาการสมาธิสั้นก็จะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ

          เด็กแอลดีมักสับสนในเป้าหมายของการกระทำของตน ทำอะไรจึงมักไม่ตรงเป้าหมาย  จึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  ไม่เข้าใจหน้าที่ของตน  คิดอะไรได้  มักจะทำไปเรื่อยโดยไม่ใส่ใจกับผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตน  ที่เป็นน้อย  มักเรียนสำเร็จขั้นมหาวิทยาลัยและชอบทำงานศิลปะ  เมื่อเป็นผู้ใหญ่มีครอบครัว  คิดอะไรได้มักจะทำ ไม่รับรู้การสิ้นเปลืองหรือผลสำเร็จ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง  ภรรยามักต้องเป็นผู้เข้าไปบริหารจัดการ  ตามล้างตามเช็ดสิ่งที่ผิดพลาด  โดยไม่มีใครรู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้

           เด็กปัญญาอ่อนและเด็กออทิสติกมักมีอาการแอลดีแทรก  แต่ไม่เรียกว่าเด็กแอลดี

           วิธีช่วยเหลือ ถ้าเป็นเด็กเล็กต้องทำ  "กิจกรรมบำบัดหรือเอสไอ" ให้ได้ทุกวันจะดีที่สุด เมื่อโตขึ้นให้เล่นแบบไทย  บำรุงสมองด้วยอาหารการกินและใช้วิธีเรียนเป็นกรณีพิเศษตามความบกพร่องของตนเอง ศึกษารายละเอียดจากบทความซ้ายมือหรือขอคำปรึกษาจากเราด้วยการนัดหมายล่วงหน้า  ห้ามทำร้ายจิตใจหรือร่างกายเด็กเหมือนเด็กสมาธิสั้น  เพราะจะเกิดอาการก้าวร้าว  เป็นโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์แปรปรวนเช่นเดียวกับเด็กสมาธิสั้น ในกรณีที่มีอาการสมาธิสั้นซึ่งแทรกซ้อน จนรบกวนผู้อื่น  ต้องพบจิตแพทย์เด็ก แพทย์จะให้ช่วยทำให้นิ่งแต่ไม่ช่วยด้านแอลดี

         9. อาการออทิสติก (autism) ที่เป็นแบบไม่มากอาจแทรกซ้อนในสมาธิสั้นได้ เช่น ชอบอาหารซ้ำ ๆ แต่ถ้าจำเป็นจะรับประทานอย่างอื่นได้  ไม่มีปัญหา หรือ ชอบดูหนังที่ชอบซ้ำ ๆ หรือ ดูเรื่องอื่นได้หากจำเป็น  ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าแทรกซ้อนอยู่ในสมาธิสั้นได้เช่นกัน

         เด็กมักเป็นเด็กใจดี  ชอบช่วยเหลือคนอื่น  แต่มักชอบทำอะไรซ้ำๆและมักไม่มีอาการก้าวร้าว  นอกจากจะโดนพ่อแม่หรือบุคคลอื่นทำทารุณกรรม  จนเกิดความทุกข์จนสุดที่เด็กจะทนได้  จึงเกิดอาการก้าวร้าวรุนแรงและซึมเศร้า

         เด็กออทิสติกที่เป็นค่อนข้างมากมักมีปัญหาต่อไปนี้

            - ปัญหาการสื่อสาร  พูดช้ากว่าวัย  ส่วนใหญ่ต้องฝึกพูดหรือเมื่อพูดได้  จะพูดน้อยหรือพูดเมื่อจำเป็นและมักพูดจากใจ  ตรงไปตรงมา  จนทำให้คนโกรธได้เพราะไม่เข้าใจ หรือ  อาจเป็นเด็กพูดไม่หยุด  ไม่รู้ว่าคนอยากฟังหรือไม่  อ่านความรู้สึกคนอื่นไม่ได้  พูดเป็นเรื่องยาวๆไม่ได้ แค่จะพูดเป็นประโยคหรือโต้ตอบได้  บางคนจะพูดไม่หยุดและมักพูดเรื่องเดิมๆที่ตนชอบ  แต่ทุกคนมักมีความจำเป็นเลิศ  ต้อง  "ฝึกพูด"  ทุกวันเป็นดีที่สุดร่วมกันกับการเป่าลูกโป่งจากสบู่เพราะจะทำให้ปอด  ลำคอและช่องปากแข็งแรง  ออกเสียงได้ง่ายขึ้น

           - ปัญหาปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สร้างเพื่อนไม่เป็น  ชอบเล่นคนดียว มีโลกส่วนตัว ไม่สนใจผู้อื่น  บางคนกลัวคน  บางคนไม่กลัวแต่ไม่ชอบเข้าใกล้  แต่บางคนชอบเข้าหาคนโดยไม่กลัวและกลายเป็นนักประชาสัมพันธ์โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร  ไม่ต้องดุ ว่าเด็ก  แต่ให้ดึงความสนใจไปทำกิจกรรมอื่น คุณแม่ต้องช่วยด้วยการหาเพื่อนให้และค่อยๆดึงความสนใจไปทำกิจกรรมอื่น  หรือ เน้นที่การเล่นแบบไทยเป็นหลัก

           - ปัญหาพฤติกรรม ชอบวิ่งมากกว่าเดิน เคลื่อนไหวหรือซนแบบไร้เป้าหมาย เล่นของเล่นไม่เป็น พ่อแม่จึงมักเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น เมื่อนำไปพบแพทย์มักเน้นเรื่องการซุกซนและเคลื่อนไหวผิดปกติ  จึงทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด  เมื่อนำยาของเด็กสมาธิสั้นมารับประทาน  จึงไม่ได้ผลเหมือนเด็กสมาธิสั้น

             ชอบร้องกรี๊ดเมื่อไม่ได้ดังใจ ไม่สบตา  เดินเขย่งเท้า  กินอาหารและชอบทำอะไรซ้ำซาก  กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่น  กลัวเสียงดัง  เด็กบางคนจะกัดแขนตัวเองหรือใช้หัวโขกพื้น ในกรณีที่เป็นมาก หรือ  ชอบมองของที่หมุน ๆ เช่น  พัดลม ล้อรถ ฯลฯ มักชอบเครื่องยนต์  เช่น ชอบเครื่องตัดหญ่า รถยนต์และเครื่องบิน

            เด็กออทิสติกที่มีอาการน้อย  มักจะมีไอคิวสูงและมีความเป็นอัจฉริยะเฉพาะเรื่อง  เช่น  ด้านคอมพิวเตอร์  ด้านเครื่องยนตร์  เป็นต้นรู้อะไรรู้จริง  สนใจอะไรมักหาความรู้ด้วยตนเอง  เหมือนห้องสมุดเคลื่อนที่  จนทำให้บุคคลรอบตัวแปลกใจที่รู้  สามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี  เด็กประเภทนี้มักเรียกว่า "เด็กแอสเพอร์เกอร์"

             เด็กออทิสติกถูกจัดว่า  "พิการ"  เพราะอาการไม่หายแต่ดีขึ้น  โดยพ่อแม่ต้องช่วยเหลือให้ถูกต้อง  เด็กเมื่อมีอาการดีขึ้นจะเป็นเด็กจิตใจดี  ขี้สงสาร  ชอบช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่มีข้อแม้และมีความจำเป็นเลิศ  แต่มักจำในเรื่องที่ไม่ควรจำ

             การช่วยเหลือ 1. ต้องฝึกพูดเป็นประจำทุกวันๆละอย่างน้อยตรึ่งชั่วโมง  2. ฝึกกิจกรรมบำบัดหรือเอสไอหรือเล่นแบบไทย  3. บำรุงสมองด้วยอาหารที่เป็นประโยชน์  เช่น อาหารที่มีถั่วเหลืองมาก  เช่น  น้ำเต้าหู้  ปลาทู ฯลฯ  ปรับพฤติกรรมสม่ำเสมอโดยไม่ตีหรือดุว่า  หากวิ่งมากกว่าเดินหรือเคลื่อนไหวแบไร้ทิศทาง  จำเป็นต้องพบจิตแพทยๆมักให้รับประทานยาที่ทำให้ช้าลงและเป็นคนละประเภทกับของเด็กสมาธิสั้น หากการวินิจฉัยพลาดโดยระบุว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น  ยาของเด็กสมาธิสั้นจะไม่ทำให้นิ่ง  จำเป็นต้องพบแพทย์และแจ้งให้แพทย์รู้เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยใหม่  คุณแม่ต้องเล่าอาการอื่นๆให้หมด  มิใช่แค่บอกว่า "ซนมาก" เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกให้ถูกทางโดยเร็วที่สุด

              เด็กออทิสติกเป็นจำนวนมากที่ได้รับการพัฒนาได้ดี  จะสามารถเรียนหนังสือได้แต่มักมีอาการแอลดีแทรก  ต้องช่วยเหลือทางด้านอแลดีด้วย 

              10. อาการซึมเศร้ว(Depression)และอาการอารมณ์แปรปรวน(Bipolar) อันเนื่องมาจากการที่เด็กมีความทุกข์มหันต์เพราะบุคคลรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้อง  ครูและเพื่อนไม่เข้าใจ  ชอบตำหนิติเตียนและดูถูกเป็นประจำ  อาการของเด็กจึงเลวลง  โดยเริ่มจากการแสดงอาการโมโห ก้าวร้าว  นอนไม่ค่อยหลับ  กินอาหารน้อยไปหรือมากเกินไป  ชอบแยกตัว มีอารมณ์เศร้าเมื่ออยู่ตนเดียว  มักคิดวนอยู่กับปัญหาของตนเอง 

             เด็กที่จิตใจอ่อนแอ  มักทำร้ายตนเองจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย  ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที  บางคนที่จิตใจเข้มแข็ง  อาการจะพัฒนาเป่็นโรคอารมณ์แปรปรวน  ประเดี๋ยวดีประเดี๋ยวร้าย  อาจทำร้ายหรือฆ่าคนได้  พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตหากลูกเริ่มพูดว่า  "ไม่รู้เกิดมาทำไม  ทำอะไรก็ผิดหมด  อยากตาย......" แสดงว่าเด็กมีความทุกข์และรู่สึกแย่  หมดความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง

             อาการที่พัฒนาเลวร้ายขึ้นเช่นนี้  หนักหนากว่าการมีสมาธิสั้น  เป็นอันตรายต่อเด็กและผู้ที่อยู่ใกล้ชิด  ต้องรีบพาลูกพบจิตแพทย์และพบนักจิตวิทยา  ที่สำคัญที่สุดต้องรักษาด้วยการ รับประทานยา อย่างสม่ำเสมอและ พ่อแม่พี่น้อง  ต้องปรับเปลี่ยนตนเองตามหลัก ทาน ศีลและภาวนา  เพื่อจะได้ช่วยทำให้ลูกมีความสุข  ไม่เครียดและไม่ถูกกดดัน  ยาจึงจะทำงานได้ผลดี

                    

    ติดต่อชมรมผู้ปกครองฯเพื่อขอนัดนักจิตวิทยา โทร.02-9328439

     



 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเรา  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา  บริจาค และ สั่งซื้อหนังสือเรื่อง"For You....คุณแม่คนเก่ง
Copyright©2024 adhdthai.com
Powered by SMEweb